ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เห็ดหลินจือ ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้จริงหรือ?


ไต เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย อยู่บริเวณหน้าคงกล้ามเนื้อหลังตรงตำแหน่งบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง ปกติไตมี 2 อัน ลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว

หน้าที่ของไต
  1. กรองของเสียจากเลือดและผลิตปัสสาวะเพื่อกำจัดของเสีย ออกจากร่างกาย.
  2. ควบคุมความเป็นกรดหรือด่างในเลือด
  3. ควบคุมสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย.
  4. สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดแดง และสร้างวิตตามินดีที่เกี่ยวข้องกับกระดูก.
  5. กำจัดสารที่เป็นพิษ หรือ ยาบางชนิด

โรคไตเรื้อรัง หมายถึง การที่ไตถูกทำลาย และทำหน้าที่ได้น้อยลง เป็นการสูญเสียการทำงานของไตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหลายเดือนหรือหลายปี

สาเหตุ
โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุอื่นๆ ภาวะการอักเสบที่ไต การได้รับสารพิษ การใช้ยาบางประเภท และสมุนไพรบางชนิด เป็นต้น

อาการ
  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ขาบวม กดบุ๋ม
  • ซีด
  • ลมหายใจ มีกลิ่นของปัสสวะ
  • พบตะกอนผิดปกติในปัสสวะ ปัสสวะมีเลือดปน หรือมีฟองมากกว่าปกติ
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ หรือ อาเจียน สับสน หรือ ซึม
  • ความดันโลหิตสูง
  • คันตาผิวหนัง

การชะลอความเสื่อมของไต
  • ควบคุมความดันโลหิตสูง
  • งดสูบบุหรี่
  • การใช้ยาลดความดันบางชนิดที่สามารถ ชลอความเสื่อมของไต
  • รักษาโรคที่ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น เช่น นิ่ว ต่อมลูกหมากโต.
  • ควบคุมเบาหวาน
  • บริโภคอาหารที่ถูกต้อง
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด
  • หลีกเลี่ยงยาที่อาจมีผลเสียต่อไต


เห็ดหลินจือเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย บำรุงตับ บำรุงไต และรักษาโรคเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน มากกว่า2,000 ปี.
ล่าสุดอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำสรรพคุณของพืชที่มากคุณค่าชนิดนี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน ซึ่งมีผลทำให้อาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยไตลดลงและป้องกันภาวะเข้าสู่ไตวายได้

รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า: จากการศึกษาร่วมกับนักวิจัยหลายท่านได้นำไปสู่การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เห็ดหลินจือได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเป็นพิษที่มีอยู่ในเลือดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการรักษาโรคต่างๆ จึงเป็นที่มาของการนำพืชสมุนไพรชนิดนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการดื้อต่อการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน โดยปกติแล้วเซลล์บุผิวหลอดเลือดในร่างกายของเราจะทำหน้าที่สร้างสารขยายหลอดเลือดทำให้เลือดแข็งตัวและหลอดเลือดไม่อุดตัน จากการศึกษาวิจัยโดยการตรวจสอบน้ำเลือดของผู้ป่วยในหลอดทดลองซึ่งมีเซลล์บุผิวหลอดเลือดพบว่าน้ำเลือดในผู้ป่วยจะทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดตายในอัตราที่สูง เนื่องจากในน้ำเลือดของผู้ป่วยมีสารกระตุ้นการอักเสบ ซึ่งทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดรวมไปถึงเซลล์ไตตาย ในขณะที่สารต้านการอักเสบจะลดต่ำลง แสดงให้เห็นถึงภาวะสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสียไป เลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงไตจึงพร่อง ทั้งนี้จากการศึกษาโดยการให้เห็ดหลินจือในรูปของแคปซูลแก่ผู้ป่วยโรคไตร่วมกับยาแผนปัจจุบันคือยาขยายหลอดเลือด ผลการศึกษาพบว่าสารที่เสริมการอักเสบมีภาวะลดน้อยลง สารต้านการอักเสบมีภาวะที่สูงขึ้นและทำให้การตายของเซลล์บุผิวหลอดเลือดลดลง มีเลือดไปเลี้ยงไตเพิ่มขึ้น อัตราการกรองของเสียเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันระดับของโปรตีนหรือไข่ขาวที่รั่วออกมาในปัสสาวะก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วยฟื้นฟูสมรรถนะการทำงานของไตได้ดียิ่งขึ้น เป็นการยืดอายุการเข้าสู่ภาวะไตวายได้

ผลการใช้เห็ดหลินจือสกัด รากและดอก 6 สายพันธ์ ยีห้อแด๊กซิน กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง อาการไข่ขาวรั่ว,บวมดีขึ้น ไขมันในเลือดและความดันโลหิตดีขึ้น  อาการอักเสบในไตก็ดีขึ้นมาก (เป็นข้อมูลบอกเล่าส่วนตัวของผู้ใช้จริง ตามความเชื่อ ไม่ใช่ผลกาวิจัยแต่อย่างใด)





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16 อาการบ่งบอกโรคเมื่อเริ่มทานเห็ดหลินจือแด๊กซิน (ดอก) ฉลากสีส้ม

16 อาการบ่งบอกโรคเมื่อเริ่มทานเห็ดหลินจือแด๊กซิน (ดอก) ฉลากสีส้ม 1. มีอาการปวดกลาง ศรีษะ ถึงท้ายทอย ร่วมกับอาการมึน - ความดันต่ำ ขาดสารอาหาร ระบบเลือดหล่อเลี้ยงสมองไม่ดี 2. ปวดขมับ มึนท้ายทอย อาจมีเพียง อาการเดียว หรือทั้ง 2 อาการพร้อมกัน – ความดันสูง 3. มึนทั้งหัว พร้อมกับเวียนหัวด้วย – ความดันสูงมีไขมันในเส้นเลือดสูง 4. มีขี้ตาออกเป็นก้อน - สภาวะตับเสื่อม ทำงานขับพิษได้ไม่ดี 5. น้ำตาไหล เจ็บไหล่ซ้ายมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย - สภาวะปอดเสื่อม ระบบหายใจไม่ดี 6. ปวดไหล่ขวา มีขี้ตาออก – สภาวะปอดเสื่อม 7. น้ำมูกใส ๆ ไหลตลอดประมาณ 3-5 วัน - เป็นภูมิแพ้ , โรคไซนัส, ทางเดินหายใจอักเสบ 8. เสมหะมาก คอแห้งผาก - ระบบหลอดลม , ทางเดินหายใจ มีความสกปรก อุดตัน 9. หายใจถี่มาก ใจสั่น - มีสภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ 10. จุกเสียดลิ้นปี่ หน้าอก - กระเพาะอาหาร , ลำไส้เล็กอักเสบ ระบบดูดซึมไม่ดี 11. จุกด้านหลัง,ท้องอืด,อึดอัด - ริดสีดวงทวาร การทำงานของระบบขับถ่ายและลำไส้ใหญ่ไม่ดี 12. ปวดเอว - เป็นโรคไต,ระบบขับถ่ายของเสียไม่ดี 13. ปวดหัวเหน่า - มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากเสื่อม 14. ปว...

กาแฟ Dx-Max แด๊กซิน

 วันนี้จะมาพูดถึงเรื่อง กาแฟ DX-Max 5 IN 1 ที่ผู้ชายหลายต่อหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นกาแฟสำหรับท่านชายหรือก่แฟสำหรับนกเขาไม่ขัน ดื่มแล้วทำให้ทนทาน ยืดเวลาแห่งความสุขอะไรประมาณนี้ จริงๆแล้วกาแฟตัวนี้ไม่ใช่กาแฟคนบ้ากามนะครับ คนธรรมดาก็ทานได้ สรรพคุณหลักของกาแฟ Dx-Max คือช่วยเรื่องขยายหลอดเลือดให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น และช่วยเสริมฮอร์โมนเพศชายให้รู้สึกสดชื่นไม่อ่อนเพลีย แต่ผลพลอยได้คือรู้สึกว่าสมรรณภาพทางเพศดีขึ้น(คนที่ดื่มบอก) ลองมาทำความรู้จักกาแฟ แด๊กซิน 5 in 1 กล่องสีสดใสตัวนี้กันนะครับ 1 กล่อง 10 ซอง ไม่แนะนำให้ทานทุกวันเพราะราคาค่อนข้างแพง ซองสวยมากดูแล้วเหนือกว่าซองกาแฟทั่วไป 1 ซองมี 20 กรัม สำหรับผมชอบทานผสมกับกาแฟดำแด๊กซิน 1 ซอง บวกกับ กาแฟ dxmax 3 ช้อนชา ประหยัดดี   ลองมาดูส่วนผสมสำหรับกาแฟเพื่อสุขภาพแด๊กซินตัวนี้นะครับ: 1: ตงกัตอาลี 2: Maca (มาค่า โสมเปรู)  3: Damiana สมุนไพรจาก Mexico 4: Tribulus 5: เห็ดหลินจือ ตงกัตอาลี ...สมุน ไพรชั้นยอดของมาเลเซีย และผ่านการจดสิทธิบัตรที่ปร ...

โกรท ฮอร์โมน (Growth Hormone)

 ฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการหมุนเข็มนาฬิกาชีวิตกลับมา มีชื่อว่าโกรท ฮอร์โมนซึ่งเป็น “Master Hormone” หรือฮอร์โมนหลักของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกันทุกระบบ และทุกการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่ในการสร้างเนื้อเยื่อ และควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตในวัยที่ยังโตไม่เต็มที่ และสร้างเนื้อเยื่อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ ยังเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญไขมันและเปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ระดับโกรทฮอร์โมนในร่างกายของมนุษย์ จะถึงจุดสูงสุดเมื่อมนุษย์ย่างเข้าสู่วัยรุ่น หลังจากคนมีอายุได้ 20 ปี การผลิตโกรท ฮอร์โมนจะลดลงด้วยอัตรา 14% ทุก 10 ปี เมื่อคนเรามีอายุ 60 ปี ระดับของโกรท ฮอร์โมนในร่างกายจะมีประมาณ 25% ระดับที่เคยผลิตได้สูงสุด อาการของโกรท ฮอร์โมน ที่ลดลง สังเกตได้ตั้งแต่ กล้ามเนื้อน้อยลง ไขมันเพิ่มขึ้น ลงพุง กระดูกผุ กระดูกพรุน ไต กับปอด ทำงานไม่ดี ผิวเหี่ยวชราลง ผมหงอก ร่างกายเสื่อมสภาพลง เข้าสู่สภาวะของความแก่ชรา อวัยวะที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการลดลงของระดับโกรท ฮอร์โมน คือ หัวใจ ที่สำคัญที่สุดในร่างกาย เมื่อระดับโกรท ฮอร์โมนต่ำลง คนจะมีอัตราเสี่...